บทบาทหน้าที่ของผู้เขียน (Author Ethic) |
1. ผู้เขียนบทความ ต้องไม่คัดลอกหรือหยิบยกเอาเนื้อหา (โดยไม่อ้างอิง) จากบทความอื่น มาเป็นส่วนหนึ่งของบทความที่ส่งมาขอรับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (ทั้งนี้วารสารฯ กำหนดความซ้ำซ้อนของผลงานไม่เกินร้อยละ 20 จากการตรวจสอบโปรแกรม CopyCat ของเว็บไซต์ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย Thai Journal Citation Index Centre : TCI) |
2. ผู้เขียนบทความต้องส่งบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ประเมินบทความ เพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น |
3. ผู้เขียนบทความที่มีรายชื่อปรากฏในบทความ จะต้องมีส่วนร่วมในการจัดทำบทความหรือมีส่วนร่วมในการทำวิจัยจริง (หากตรวจสอบพบว่า ผู้เขียนบทความหรือผู้ใดผู้หนึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำบทความ วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการถอดถอนบทความดังกล่าวออกจากการเผยแพร่โดยทันที) |
4. ผู้เขียนบทความจะต้องจัดทำบทความที่มีองค์ประกอบหรือหัวข้อตามรูปแบบ (Template) ของบทความในการเตรียมต้นฉบับตามประเภทบทความของวารสารฯ |
5. ผู้เขียนบทความเมื่อมีการหยิบยกผลงานของผู้อื่นมาไว้ในบทความที่ส่งพิจารณาตีพิมพ์ จะต้องมีการอ้างอิงทั้งในส่วนเนื้อหา (citation) และในส่วนรายการเอกสารอ้างอิง (บรรณานุกรมแบบRomanization) ที่ตรงกันและมีรูปแบบที่ถูกต้องครบถ้วนตามที่กำหนด ในการเตรียมต้นฉบับบทความให้ผู้อ่านสามารถสืบค้นเพิ่มเติมแหล่งที่มาของข้อมูลได้ (หากมีการฟ้องร้องการละเมิดลิขสิทธิ์เนื่องจากไม่อ้างอิง จะเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความแต่เพียงผู้เดียว วารสารฯจะไม่มีส่วนรับผิดชอบ
ใด ๆ ทั้งสิ้น และจะดำเนินการถอดถอนบทความออกจากการเผยแพร่ของวารสารฯ ทันที
|
6. ผู้เขียนบทความต้องตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งแหล่งเนื้อหาและความน่าเชื่อถือของเจ้าของบทความที่นำมาอ้างอิง รวมถึงไม่นำเอาเอกสารที่ถูกถอดถอนแล้วมาใช้อ้างอิง |
7. ผู้เขียนบทความต้องปรับแก้ไขบทความตามที่ผู้ประเมินบทความและบรรณาธิการแนะนำให้แล้วเสร็จและส่งกลับมาภายในเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามเวลาที่กำหนด วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่จะเลื่อนการตีพิมพ์เผยแพร่ออกไปหรืออาจถอดถอนออกจากการตีพิมพ์ของวารสารฯ โดยไม่คืนเงินที่ชำระแล้ว |
8. ผู้เขียนบทความควรระบุชื่อแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัย (ถ้ามี) และควรระบุผลประโยขน์ทับซ้อน(ถ้ามี)/span> |
9. ผู้เขียนบทความต้องคำนึงถึงจริยธรรม ไม่รายงานข้อมูลเท็จ หรือการปลอมแปลง บิดเบือน หรือการตกแต่งข้อมูลให้ผิดจากผลการศึกษา หรือวิจัยที่ได้เพื่อให้สอดคล้องกับข้อสรุป |
10. ผู้เขียนที่มีข้อมูลส่วนตัว (Private Data) หรือข้อมูลที่เจ้าของไม่ประสงค์เปิดเผยต่อสาธารณะมาใช้ประกอบในบทความ จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลก่อนการนำมาใช้ (หากมีการฟ้องร้อง การละเมิดลิขสิทธิ์ จะถือว่าเป็นความผิดของผู้เขียนบทความแต่เพียงผู้เดียว วารสารฯ จะไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น และจะดำเนินการถอดถอนบทความออกจากการเผยแพร่ของวารสารทันที) |
11. ผู้เขียนบทความที่เขียนบทความเกี่ยวกับการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ ควรมีหนังสือรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมของหน่วยงาน แสดงต่อบรรณาธิการ หรือเขียนสอดแทรกไว้ในส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความ |